8 อันดับ เตียงผู้ป่วย ที่ซื้อแล้วไม่ผิดหวัง อัพเดทล่าสุดปี 2567
คุณรู้หรือไม่? ว่าปัจจุบันนี้"เตียงผู้ป่วย"นั้นโดยมีทั้ง เตียงผู้ป่วย แล้วแบบนี้คุณจะทราบได้อย่างไรว่าในแต่ละรุ่นหรือประเภทนั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร? หรือเตียงผู้ป่วย ยี่ห้อไหนดี? ราคาแพงไหม? ดังนั้นหากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังมองหาเตียงผู้ป่วยดีๆสักรุ่น วันนี้เราได้จัดอันดับ แนะนำ เตียงผู้ป่วยคุณภาพดีมาให้คุณได้เลือกกันแล้วดังนี้
2. เตียงพยาบาล เตียงผู้ป่วย สําหรับผู้สูงอายุ ผู้ป่วย ผู้พิการ แบบปรับรอบทิศทาง มีรั้วกันตก ถาดรองของเสีย เสาน้ําเกลือ
3. เตียงพยาบาล พยาบาลbed / เตียงผู้ป่วยติดเตียงมัลติฟังก์ชั่นแบบมีล้อ/มีรั้วกันตก โครงสร้างแข็งแรง แบบมือหมุน มีเสาน
4. เตียงไฟฟ้า เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า เตียงผู้สูงวัย เตียงคนป่วยไฟฟ้า 3ไกร์ ปรับนั่ง ตะแคงข้าง ปรับที่วางเท้า มีรีโมท มีช่องขับถ่าย Daisyshopz
5. เตียงผู้ป่วย เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า เตียงพยาบาลอเนกประสงค์บ้านเตียงโรงพยาบาลไฟฟ้าอัตโนมัติเต็มรูปแบบผู้ป่วยอัมพาตพักฟื้นเตียง
6. เตียงพยาบาลไฟฟ้า เตียงผู้ป่วย พลิกกลับโดยอัตโนมัติ การควบคุมระยะไกลและการทํางานทางกล เตียงดูแลบ้าน Hospital bed
7. เตียงผู้ป่วย เตียงคนป่วย เตียงสําหรับผู้ป่วย เตียงคนไข้อัมพาตทางการแพทย์ พลิกคว่ํา เตียงยกโรงพยาบาลสําหรับผู้สูงอาย เตียงผู้ป่วยมือสอ
8. เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า ปรับ เตียงนอนคนป่วย เตียงนอนโรงพยาบาลอเนกประสงค์ เตียงยกสองมือ สําหรับผู้ป่วยอัมพาตและเตียงดูแลผู้สูงอา
"เตียงผู้ป่วย" เป็นอีกหนึ่งในอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาให้สามารถนำไปใช้เพื่อพักฟื้นหรือดูแลผู้ป่วยที่บ้านได้ แต่เมื่อขึ้นชื่อว่าเป็นเตียงด้านการพยาบาลก็ต้องมีความแตกต่างจากเตียงนอนทั่วไปอย่างแน่นอน และยิ่งไปกว่านั้นหลายครั้งที่ผู้ซื้อกำลังมองหาเตียงผู้ป่วยดี ๆ สักหนึ่งเตียง ก็กลับมีรูปแบบและชื่อเรียกแยกย่อยออกไปให้เลือกมากมาย จนทำให้เกิดความสับสนแก่ผู้ซื้อไปใช้งานไม่น้อย
และเพื่อให้การลงทุนซื้อเตียงผู้ป่วยของทุกท่าน มีความคุ้มค่าและเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยมากที่สุด ในครั้งนี้ ทางทีมงานของเราจึงได้นำเอาข้อมูลสำคัญ ซึ่งจะมาช่วยแยกความพิเศษรวมถึงจุดสังเกตที่น่าสนใจ โดยมาในรูปแบบของวิธีการเลือกเตียงผู้ป่วย พร้อมกับ 10 อันดับความนิยมของเตียงป่วยที่มีคุณภาพจากแบรนด์ดังทั้งในและต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น Burmeier, Stiegelmeyer, Thaibull ฯลฯ และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เราไปดูเทคนิคการเลือกซื้อที่น่าสนใจกันได้เลยค่ะ !
เนื่องจากเตียงผู้ป่วยนั้นถือเป็นอุปกรณ์ควบคุมทางการแพทย์ที่มีราคาค่อนข้างสูง ดังนั้น ในการเลือกซื้อทุกครั้ง ผู้ซื้อจึงจำเป็นจะต้องพิจารณารายละเอียดหรือความเหมาะสมต่าง ๆ อย่างรอบคอบ เพื่อให้เตียงที่ซื้อมาเกิดประโยชน์สูงสุดต่อตัวผู้ป่วยเองและไม่เกิดค่าใช้จ่ายที่เกินความความจำเป็นแก่ผู้ซื้อด้วย
แม้ว่าเตียงผู้ป่วยจะมีทั้งระบบมือหมุนและระบบไฟฟ้า แต่ทั้ง 2 ระบบนี้ก็มีความแตกต่างกันแค่เรื่องความสะดวกในการออกแรงปรับระดับเท่านั้น เพราะแท้ที่จริงแล้ว ส่วนสำคัญที่ผู้ซื้อส่วนใหญ่นิยมใช้พิจารณาก็คือ ระบบหรือฟังก์ชันปรับเตียงรูปแบบต่าง ๆ ตามที่เราเรียกกันว่า "ไกร์เตียง" นั่นเอง ซึ่งแบ่งตามความเหมาะสมได้ดังนี้
ในกรณีแรกนี้เป็นเตียงทั่วไปที่สามารถปรับระดับความสูงบริเวณหัวเตียง พนักพิงหลังหรือไหล่ได้เพียงตำแหน่งเดียวเท่านั้น ไม่ปรับความสูงของเตียงไม่ได้ เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่สามารถลุกนั่ง หรือเคลื่อนไหวได้ด้วยตนเอง โดยส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นระบบใช้มือหมุนเพลาเพื่อดันเบาะขึ้น ซึ่งเตียงแบบ 1 ไกร์ถือได้ว่าเป็นเตียงที่ใช้งานง่ายที่สุดและมีราคาถูกที่สุดอีกด้วย
และด้วยลักษณะเตียงที่ไม่ได้มีฟังก์ชันอะไรให้ปรับมากนัก ทำให้บางผู้ผลิตก็ได้มีการปรับปรุงรายละเอียดเล็กน้อย เช่น ในขณะที่ปรับหัวเตียงดันขึ้น ส่วนปลายเตียงก็จะมีการยกตัวขึ้นเล็กน้อยด้วย เพื่อช่วยรองรับผู้ป่วยไม่ให้ไหลมาที่ปลายเตียง เป็นต้น ทั้งนี้แม้ว่าระบบมือหมุนก็ยังจำเป็นที่จะต้องมีผู้ดูแลเข้ามาช่วยในการหมุนเพลาอยู่ แต่ถ้าหากใครที่ไม่มีผู้ดูแลประจำ ก็สามารถเพิ่มงบประมาณเปลี่ยนไปซื้อเป็นระบบไฟฟ้าแทน เพื่อให้เกิดความง่ายและความสะดวกมากขึ้นค่ะ
สำหรับประเภทเตียง 2 ไกร์ จะเป็นการพัฒนาขึ้นมาอีกขั้น เพื่อปรับให้ผู้ป่วยงอเข่าหรืออยู่ในท่าชันเข่าได้ ซึ่งเมื่อยกขึ้นก็จะมีลักษณะเป็นช่องสามเหลี่ยมตั้งขึ้นใต้เตียงช่วงหัวเข่าและส่วนใหญ่จะทำมุมใกล้เคียงกันที่ 30 - 45 องศา ในขณะเดียวกัน ด้านศีรษะก็ปรับขึ้นให้ตั้งขึ้นได้ 70 - 90 องศาไปได้พร้อม ๆ กัน แต่ไม่สามารถปรับระดับความสูงเตียงได้
โดยการปรับระดับของเตียง 2 ไกร์นั้น ถือว่าเป็นการออกแบบที่คำนึงถึงหลักสรีรศาสตร์ได้เป็นอย่างดี เพราะการชันเข่าจะช่วยไม่ให้ผู้ป่วยไหลมาที่ปลายเตียง ที่สำคัญ จะช่วยลดอาการปวดหลังเมื่อผู้ป่วยต้องนั่งเป็นระยะเวลานานได้นั่นเอง
ลำดับถัดมา คือ เตียง 3 ไกร์ เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถขึ้นลงด้วยตนเองหรือขยับตัวได้ค่อนข้างลำบากและผู้ป่วยอาจจะต้องเคลื่อนย้ายเพื่อไปพบแพทย์หรือทำกายภาพบำบัด ซึ่งเตียงประเภทนี้จะเป็นเตียงที่พัฒนามาจากระบบ 2 ไกร์ แต่เพิ่มฟังก์ชันการปรับความสูงของเตียงเข้าไป ซึ่งจะช่วยลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุและอาการบาดเจ็บขณะเคลื่อนย้ายผู้ป่วยได้
อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นของกลไกดังกล่าวก็ส่งผลให้ราคาของเตียงผู้ป่วย 3 ไกร์ เพิ่มขึ้นจากปกติเกือบเท่าตัว แต่หากผู้ป่วยมีความจำเป็นจะต้องเคลื่อนย้ายหรือเปลี่ยนสถานที่บ่อย การเลือกเตียงประเภทนี้ก็ถือว่าตอบโจทย์และคุ้มค่าทีเดียว
หากเป็นผู้ป่วยที่จะต้องใช้เวลาพักฟิ้นอยู่บนเตียงเป็นระยะเวลานาน หรือผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ควรเลือกเตียงที่มีระบบการทำงานเสริมเพื่อใช้ช่วยเพิ่มความสะดวก โดยในที่นี้เราจะรู้จักกันในชื่อที่เรียกว่า เตียง 4 ไกร์ หรือ 5 ไกร์ ซึ่งเป็นเตียงมีลักษณะทั่วไปใกล้เคียงกับ 1-3 ไกร์ แต่จะมีความสามารถในการปรับหลัง, ปรับช่วงไหล่, ปรับซ้าย-ขวา, ปรับท่าขันเข่า หรือความสูง-ต่ำของหัวเตียงและส่วนเท้าได้
โดยส่วนใหญ่แล้ว เตียงที่เป็นระบบ 4 และ 5 ไกร์ จะถูกออกแบบมาเพื่ออำนวยความสะดวกในด้านการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยเป็นหลักโดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบ 5 ไกร์ จะเป็นระบบเดียวที่ปรับให้ด้านศีรษะต่ำ-เท้าสูงได้ ซึ่งความพิเศษเหล่านี้จะช่วยลดโอกาสการเกิดแผลกดทับได้ ช่วยให้การทำกายภาพเป็นไปอย่างราบรื่นและช่วยลดภาระของผู้ดูแลในการพลิกตัวผู้ป่วยที่มีน้ำหนักมากหรือผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกได้นั่นเอง
ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ก็ได้มีการเปิดตัวเตียงผู้ป่วยที่ปรับพลิกตะแคงซ้าย ขวาให้เอียงได้มากขึ้นกว่า 40 องศา หรือแม้กระทั่งฟังก์ชันช่องสำหรับนอนสระผมได้ หรือช่องขับถ่ายในท่านั่ง ก็มีออกมาวางจำหน่ายให้ผู้ซื้อได้เลือกเพื่อใช้อำนวยสะดวก ตามความเหมาะสมกันอีกด้วย
ขนาดเตียงผู้ป่วยโดยทั่วไป จะมีขนาดตั้งแต่ กว้าง 85 - 100 cm และ 170 - 200 cm ซึ่งเป็นขนาดที่รองรับความสูงของผู้ป่วยทั่วไปได้และยิ่งความกว้างของเตียงมากขึ้นเท่าไหร่ ความปลอดภัยจากการพลิกตัวของผู้ป่วยก็จะยิ่งเพิ่มขึ้น แต่ในทางกลับกัน ก็เป็นระยะที่ทำให้ผู้ดูแลเข้าถึงตัวผู้ป่วยได้ลำบากมากขึ้นด้วยเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้เรามองเห็นขนาดความกว้างที่เหมาะกับทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแล มักจะอยู่ที่ 90 cm ซึ่งเป็นมาตรฐานส่วนใหญ่นั่นเอง
นอกจากนี้ เตียงผู้ป่วยควรมีความสูงจากพื้นถึงพื้นเตียง 25-40 cm หรือมีความสูงประมาณข้อพับเข่าของผู้ป่วย เพื่อให้ลุกขึ้นนั่ง-ยืนได้ และวางเท้าบนพื้นได้พอดี หรือหากเป็นเตียงไฟฟ้าที่สามารุปรับระดับได้ ก็ควรที่จะปรับดับให้สูง-ต่ำได้ 25 - 40 cm ด้วย
โดยปกติเตียงผู้ป่วยจะถูกออกแบบมาให้รองรับการใช้งานของตัวผู้ป่วยได้ดีและเน้นความปลอดภัยอยู่แล้ว เช่น วัสดุที่ใช้ต้องเป็นวัสดุที่มีมาตรฐาน, ทำจากเหล็กเคลือบสารกันสนิม, รองรับน้ำหนักผู้ป้วยได้ตั้งแต่ 150 kg ขึ้นไป เป็นต้น แต่ถึงอย่างนั้น ในหลายผู้ผลิตก็ได้มีการเพิ่มฟังก์ชันการใช้งาน มีอุปกรณ์เสริม รวมไปถึงเพิ่มระบบความปลอดภัยต่าง ๆ ให้เป็นทางเลือกในการพิจารณาเลือกซื้อด้วย
และหนึ่งในระบบความปลอดภัยที่สำคัญก็คือ ราวกันตก ที่จะช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุจากการพลิกตัว โดยเฉพาะในเวลากลางคืน ซึ่งวัสดุที่เป็นที่นิยม คือ อะลูมิเนียม เหล็ก และพลาสติก ABS เพราะมีน้ำหนักเบา ทำให้การพับหรือยกขึ้นลงสะดวกขึ้น โดยราวกันตกที่เราขอแนะนำควรมีระดับความสูงที่วัดจากฟูกหรือเบาะนอนไม่น้อยกว่า 22 cm
นอกจากนี้ ยังมีระบบล็อกล้อป้องกันเตียงไหล ฟังก์ชันการสระผม และอื่น ๆ อีกมายมายให้ได้เลือกซื้อ อย่างไรก็ตาม การมีฟังก์ชันที่หลากหลายมากขึ้นนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ราคาของเตียงผู้ป่วยสูงขึ้นตามไปด้วย
ใครที่ต้องการเพิ่มความสะดวกในการเคลื่อนย้าย ในกรณีที่ผู้ป่วยสามารถลุกเดินเองได้และไม่มีความจำเป็นจะต้องนอนเตียงตลอดเวลา แนะนำให้เลือกใช้เตียงผู้ป่วยที่พับได้ เพราะจะช่วยเพิ่มพื้นที่ใช้งานหรือพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมอื่นได้ ทั้งยังช่วยให้คุณทำความสะอาดบริเวณห้องได้อย่างทั่วถึง
ลักษณะโดยทั่วไปจะเป็นการพับด้วยขั้นตอนง่าย ๆ คือ การยกรอยต่อตรงกลางเตียงขึ้นแล้ว ส่วนต่าง ๆ ก็จะพับเข้าหากันอัตโนมัติ หรือเป็นการถอดประกอบชิ้นส่วน ซึ่งความสะดวกที่ได้มานี้ย่อมแลกมาด้วยข้อเสีย เพราะโดยส่วนใหญ่ความแข็งแรงตามบริเวณรอยต่อหรือจุดเชื่อมเหล่านี้จะน้อยลงและมีโอกาสหักงอได้ง่ายหากรับน้ำหนักมากเกินไป
แต่ถ้าหากผู้ซื้อมีความสนใจที่จะเลือกซื้อเตียงที่สามารถพับได้อยู่แล้ว ก็อาจจะต้องเพิ่มงบประมาณในการเลือกซื้อฟูกหรือที่นอนที่มีความแข็งแรงมากขึ้น รวมถึงรุ่นที่มีระบบล็อกรอยต่อเพิ่มด้วย
เมื่อเราได้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจกันไปส่วนหนึ่งแล้ว ลำดับต่อไปก็คือ 10 อันดับเตียงผู้ป่วยคุณภาพ ที่ไม่เพียงหาซื้อทางออนไลน์ได้เท่านั้น แต่ยังได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากผู้ใช้อย่างล้นหลามอีกด้วย จะเป็นเตียงรูปแบบไหนและมีความพิเศษน่าสนใจขนาดไหนนั้น ไปเริ่มจากอันดับที่ 10 กันก่อนเลยค่ะ
ใครที่กำลังมองหาเตียงราคาย่อมเยา บอกได้เลยว่ารุ่นนี้ไม่ควรพลาด เพราะชิ้นส่วนมือหมุนทำจากโครเมียม โครงสร้างของเตียงทำจากเหล็กแผ่นอย่างดี รองรับน้ำหนักสูงสุดได้ 150 kg หัวเตียงปลายเตียงทำจากพลาสติก ABS เบาะถูกแบ่งเป็น 3 ส่วนเพื่อให้สามารถปรับพนักพิงหลังได้ 0 - 80 องศา รวมถึงปรับท่าชันเข่าได้ถึง 45 องศา มาพร้อมล้อล็อกหมุนได้ 360 องศา ซึ่งช่วยให้การเคลื่อนย้านสะดวกขึ้น มีความสูงจากพื้นถึงพื้นเตียง 56 cm และมีราวกันตกน้ำหนักเบา 2 ด้าน พับขึ้นลงได้ง่ายโดยไม่ต้องออกแรงอีกด้วย
รุ่นนี้เป็นเตียงผู้ป่วยระบบมือหมุนที่ถือว่าได้รับความนิยมไม่น้อย โดยโครงสร้างเตียงทำจากเหล็กพ่นสีฝุ่นซึ่งช่วยป้องกันการเกิดสนิม อีกทั้งพื้นเตียงที่ทำจากเหล็กยังถูกวางเป็นแนวขวางซึ่งทำให้รองรับน้ำหนักได้ถึง 200 kg หัวเตียงปลายเตียงเป็นพลาสติก ABS เบา แต่ยืดหยุ่นแข็งแรง สามารถถอดเข้าออกได้ พนักพิงหลังปรับได้ 0 - 75 องศา และท่าชันเข่าปรับระดับได้สูงสุดที่ 40 องศา มาพร้อมราวกันตกความยาว 147 cm สูง 45 cm พับขึ้นลงได้ง่าย โดยเตียงรุ่นนี้มีความสูงจากพื้นถึงพื้นเตียงอยู่ที่ 53 cm
มาดูเตียงมือหมุนรุ่นนี้กันบ้าง ที่มีโครงสร้างทำจากเหล็กคุณภาพแข็งแรง รับน้ำหนักได้ถึง 200 kg พื้นเตียงเป็นเหล็กแผ่นมีรูช่วยระบายอากาศ เบาะนอนถูกแบ่งออกเป็น 4 ตอน เพื่อรองรับกลไกการปรับระดับ ทำจากฟองน้ำคุณภาพหนา 2 cm หุ้มด้วยหนังเทียมและมีซิป จึงถอดออกเพื่อนำไปทำความสะอาดได้ ปรับระดับความสูงได้ระหว่าง 47 - 68 cm หัวเตียงและท้ายเตียงเป็นพลาสติกขึ้นรูปน้ำหนักเบาสามารถถอดเข้า-ออกได้ ราวกันตกมีความยาว 150 cm พับเก็บได้โดยไม่ต้องออกแรงยก รวมทั้งมีล้อล็อคได้ทั้ง 4 ล้อ
เป็นรุ่นที่มีการดีไซน์ให้สื่อถึงความอบอุ่นปลอดภัยได้ดีทีเดียวกับ Burmeier เตียงผู้ป่วยสัญชาติเยอรมัน ที่มีโครงสร้างเป็นเหล็กเคลือบสีพร้อมลายไม้ สามารถรองรับน้ำหนักได้ 185 kg ปรับพนักพิงได้สูงสุด 35 องศา ปรับระดับความสูงได้ระหว่าง 40 - 80 cm ราวกันตกสูงประมาณ 37 cm ซึ่งมีระบบล็อคอัตโนมัติเมื่อเลื่อนราวขึ้น หัวเตียงและปลายเตียงทำจากแผ่นลามิเนต (โฟเมก้า) แข็งแรงมั่นคง รวมถึงบริเวณพื้นเตียงก็ยังคงเลือกใช้เป็นไม้ดัด พร้อมกับยางและเหล็กล็อคฟูกกันฟูกซึ่งเป็นฟูกตอนเดียวลื่นหรือหลุดออกอีกด้วย
เตียงคุณภาพจากประเทศญี่ปุ่นรุ่นนี้ใช้ล้อล็อกที่ทำจาก TPR มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 cm และโครงสร้างโดยรวมสามารถรองรับน้ำหนักได้สูงถึง 250 kg หัวเตียงท้ายเตียงทำจากไม้และ PU คุณภาพ ซึ่งให้ความรู้สึกผ่อนคลาย มีพนักพิงหลังปรับได้ถึง 85 องศา ปรับระดับการชันเข่าได้ระหว่าง 0 - 45 องศา โดยควบคุมผ่านรีโมรทคอนโทรลได้ โครงทำจากเหล็กแผ่นและเล็กกล่องหนาพิเศษรวมถึงราวกันตกสูง มีการเคลือบ Epoxy 2 ชั้น ป้องกันสนิมรอยขีดข่วนและช่วยกันลื่นขณะผู้ป่วยจับราวเพื่อพยุงตัวลุกนั่งอีกด้วย
สำหรับเตียงดีไซน์สุดบอุ่นนำเข้าจากเยอรมันรุ่นนี้ มาพร้อมการการันตีด้วยรางวัลระดับนานาชาติอย่าง Red Dot Design Award มีจุดเด่นในการออกแบบราวกันตกแบบ Telescopic ซึ่งพับขึ้นลงได้ด้วยมือเดียว และมีระบบล้อแบบ 2 x 2 Locking ซ่อนอยู่ในโครงเตียงที่ทำจากไม้คุณภาพเคลือบด้วยลามิเนต ระดับเตียงปรับต่ำสุดได้ 25 cm และรองรับน้ำหนักได้สูงสุด 225 kg ควบคุมการปรับระดับต่าง ๆ ได้ด้วย LCD Handset ใช้มอเตอร์ของ LINAK จากประเทศเดนมาร์กซึ่งมีเสียงเงียบ และมีอายุการใช้งานยาวนาน
โครงสร้างเตียงหนาพิเศษทำจากเหล็กรีดเย็นทำให้รองรับน้ำหนักได้มากที่สุดถึง 400 kg หัวเตียงปรับได้ตั้งแต่ 0 - 75 องศา และพิเศษตรงที่สามารถปรับงอขาในลักษณะท่านั่งปล่อยขาหรือยกขาได้ 55 - 75 องศา ที่สำคัญ คือ มีฟังก์ชันช่วยพลิกตัวได้สูงสุด 45 องศา จึงเพิ่มความสบายและช่วยลดการเกิดแผลกดทับในระยะยาวของผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี ราวกันตกทำจากไม้ ซึ่งมีน้ำหนักเบา พับเก็บได้ง่าย นอกจากนี้ ยังมีฟังก์ชันสำหรับสระผมและช่องรองขับถ่ายขนาดกว้าง 20 cm ยาว 24 cm ให้อีกด้วย
เตียงโครงสร้างเหล็กที่ประกอบติดมากับเบาะนอนฟองน้ำและใยสังเคราะห์ หุ้มด้วยหนัง PU มีคุณสมบัติระบายอากาศได้ดี ไม่ซึมน้ำ พับเก็บได้ หัวเตียงปรับระดับ 0 - 75 องศา ด้วยรีโมทไฟฟ้าและมีระบบชันเข่าขึ้นเล็กน้อยไปในตัว ที่จับทั้งของด้านสามารถถอดเพื่อเปลี่ยนไปประกอบใช้ที่ปลายเตียงได้ มีความสูงจากพื้นถึงพื้นเตียง 19 cm นอกจากนี้ ยังเพิ่มความมั่นคงแข็งแรงด้วยล้อเลื่อน 7 ล้อ ยางกันลื่น 8 จุด และล้อล็อกเพื่อความปลอดภัยอีก 2 ตัว รองรับน้ำหนักได้ 180 kg
เตียงนำเข้าจากเยอรมัน ที่เรียกได้ว่าหรูหราให้ความรู้สึกอบอุ่นและสะดวกมากที่สุดอีกรุ่นเลยก็ว่าได้ ควบคุมได้ด้วย Bluetooth Hand Switch ซึ่งมีปุ่มขนาดใหญ่ ใช้งานง่าย โครงสร้างทำจากไม้เนื้อดีที่ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยลามิเนตทั้งหมด ใช้ล้อล็อกคุณภาพมีความแข็งแรงและพับเก็บได้ ซึ่งจะช่วยให้เคลื่อนย้ายได้สะดวกมากขึ้น รวมถึงที่หัวเตียงมีช่องสำหรับเสียบเสาดึงตัว (Monkey Bar) จำนวน 2 ช่อง สามารถปรับสูงต่ำได้ระหว่าง 23 - 63 cm พื้นเตียงถูกแบ่งเป็น 4 ส่วน รองรับน้ำหนักสูงสุดได้ 175 kg
เตียงระบบไฟฟ้าล้ำสมัยนำเข้าจากฝรั่งเศส มีดีไซน์สวยงาม ให้ความรู้สึกผ่อนคลาย โครงสร้างเตียงผลิตจากอะลูมิเนียม ไม้และลามิเนตคุณภาพ รับน้ำหนักได้สูงสุด 250 kg ใช้ระบบล้อล็อกซึ่งจะซ่อนอยู่ภายในโครงเตียง โดยผู้ป่วยสามารถควบคุมเตียงผ่านระบบ Hand Switch หรือจะเป็นผู้ดูแลควบคุมผ่านแผงควบคุมที่ติดอยู่ปลายเตียงก็ได้เช่นกัน ทั้งยังปรับท่าทางได้ถึง 6 ท่า เตียงปรับต่ำสุดได้ที่ 23 cm มีราวกันตกความสูง 42 cm นอกจากนี้ ยังใช้มอเตอร์จาก Dewert Okin ซึ่งมีเสียงเบาและมีอายุการใช้งานที่ยาวนานมาก
จาก 10 อันดับข้างต้นนั้นจะเห็นได้ว่า บางครั้งระบบมือหมุนหรือฟังก์ชันทั่วไปก็เป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน นั่นก็เพราะถึงแม้ว่าหลาย ๆ ฟังก์ชันอาจจะดูเป็นประโยชน์กับผู้ป่วย แต่ในความเป็นจริงผู้ป่วยอาจไม่มีความจำเป็นต้องใช้เลยก็เป็นได้ ดังนั้นแล้ว ไม่ว่าจะมีฟังก์ชันช่วยอำนวยความสะดวกมากเพียงใด แต่ผู้ซื้อก็ควรที่จะคำนึงถึงความจำเป็นและความเหมาะสมมาเป็นอันดับแรกนั่นเอง
คงปฏิเสธไม่ได้ว่าช่วงเวลาในการฟื้นตัวของผู้ป่วยหลายคน หรือแม้กระทั่งผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วเหลือตัวเองได้ ต่างก็ใช้ชีวิตประจำวันเกือบ 90% อยู่บนเตียง ฉะนั้น การเลือกเตียงผู้ป่วยที่อำนวยความสะดวกได้ดีที่สุด ก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยสร้างทุก ๆ วันให้เป็นวันที่ดีของผู้ป่วยได้ด้วยนั่นเอง